รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม)
รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม)

รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม)

รังกนาตจุวามิโกยิล (ทมิฬ: அரங்கநாத சுவாமி கோயில்) เป็นโกยิลที่สร้างถวายพระศรีรังคนาถ คือปางไสยาสน์ของพระวิษณุ โกยิลนี้สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมทราวิฑ ตั้งอยู่ในเมืองติรุวรังกัม เขตติรุจจิราปปัฬฬิ รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[2] และโกยิลได้รับการเชิดชูโดยนักบวชอาฬวาร (Alvar) ใน ทิพยประพันธ์ (Divya Prabhandha)[3] และถือเป็นโกยิลสำคัญใน 108 โบสถ์พราหมณ์ "ทิพยเทศ" ที่สร้างถวายพระวิษณุ[2]โกยิลนี้ถือเป็นโกยิลไวษณพที่มีสีสันฉูดฉาดและงดงามที่สุดในอินเดียใต้ โกยิลนี้ยังมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติของลัทธิไวษณพ เริ่มจากงานของรามานุชะ และนาถมุนีและยมุนาจารย์ซึ่งมาก่อนหน้าในติรุวรังกัม[4] สถานที่ตั้งซึ่งอยู่บนเกาะระหว่างแม่น้ำกลลิทัม และแม่น้ำกาเวรี[2] นั้นทำให้ประสบกับอุทกภัยได้ง่าย รวมทั้งทำให้ง่ายต่อการรุกรานและเปลี่ยนเป็นค่ายทหาร[5] โกยิลเคยถูกทำลายและปล้นชิงของมีค่าไปโดยกองทัพของรัฐสุลต่านเดลีซึ่งบุกเข้าโจมตีและทำลายล้างอาณาจักรปันทยะ (Pandya) เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 และโกยิลก็ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกในปลายคริสต์ศตวรรษเดียวกัน[6][7] โกยิลได้รับการสร้างให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันมากขึ้น และสร้างโคปุรัมจำนวนมาก ขยายอาณาเขตของโกยิลมากในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17[8][9] โกยิลนี้เคยเป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางสำคัญของขบวนการภักติ ร่วมไปกับการร่ายรำและขับร้อง[10]อาณาเขตของติรุวรังกัมโกยิลคือ 155 เอเคอร์ มีศาลเจ้า 81 ศาล, หอและโคปุรัม 21 หอ, ศาลาและมณฑป 39 หลัง และแท็งก์น้ำจำนวนอีกมากมายที่ประกอบเข้ากับระบบไขน้ำและอนุชลประทานที่ซับซ้อนของโกยิล โกยิลนี้ในปัจจุบันถือว่าเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงมีการใช้ประกอบศาสนพิธีเป็นนิจอยู่[11][2]และถือเป็นแหล่งสำคัญของสถาปัตยกรรมทราวิฑดั้งเดิมที่ซับซ้อนและงดงามอย่างมีเสน่ห์

รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม)

แหล่งที่มา

WikiPedia: รังกนาตจุวามิโกยิล (ติรุวรังกัม) http://www.thehindu.com/features/friday-review/rel... http://www.sub.uni-goettingen.de/ebene_1/fiindolo/... http://aygrt.isrj.net/UploadedData/1911.pdf http://srirangam.org/ http://www.srirangam.org/ http://www.srirangam.org/administration.html http://www.srirangam.org/poojaschedule.html //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://books.google.com/?id=-O18xhA_BXUC&pg=PA64 https://books.google.com/?id=BUQ4OvusWwIC&printsec...